การปลูกและดูแลรักษาย่านาง
เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี
jantima
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เทคนิคการทำนํ้าย่านาง
เทคนิคการทำนํ้าย่านาง
1.ก่อนอื่น ซื้อใบย่านางจากตลาดมาก่อน ถุงเบ้อเริ่ม ราคาแค่สิบบาท แล้วก็เอามาล้างดินออก เด็ด เลือกใบสวยๆ มาจากเถาของย่านาง
2. เอามาล้างทีละใบอย่างหมดจด แล้วก็เอามาแช่น้ำอีกครั้ง เพื่อความแน่ใจว่าสะอาด
3.เตรียมน้ำอุ่น ประมาณ 70 องศา (ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะกลายเป็นใบย่านางต้ม)
4. เพื่อฆ่าเชื้อโรคและพยาธิ ที่ติดมากับใบ เอาใบย่านางมา พลาสเจอร์ไรซ์ โดยเอามาลวก แป๊บเดียวนะคะ เดี๋ยวเสียคุณค่าของคลอโรฟิลล์
5. เอามาใส่ในน้ำดื่มสะอาด เตรียมคั้นด้วยมือครับ (hand made จริงๆ)
6. คั้นแหลก !!!!!!~ ขยี้ๆๆๆๆๆๆ
7.เติมน้ำใบเตยปั่น เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม
8. กรองๆๆๆๆๆๆๆ จนได้น้ำเขียว ใส ปิ๊งๆๆๆๆๆ พร้อมดื่ม
9. กรอกใส่ภาชนะ
1.ก่อนอื่น ซื้อใบย่านางจากตลาดมาก่อน ถุงเบ้อเริ่ม ราคาแค่สิบบาท แล้วก็เอามาล้างดินออก เด็ด เลือกใบสวยๆ มาจากเถาของย่านาง
2. เอามาล้างทีละใบอย่างหมดจด แล้วก็เอามาแช่น้ำอีกครั้ง เพื่อความแน่ใจว่าสะอาด
3.เตรียมน้ำอุ่น ประมาณ 70 องศา (ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะกลายเป็นใบย่านางต้ม)
4. เพื่อฆ่าเชื้อโรคและพยาธิ ที่ติดมากับใบ เอาใบย่านางมา พลาสเจอร์ไรซ์ โดยเอามาลวก แป๊บเดียวนะคะ เดี๋ยวเสียคุณค่าของคลอโรฟิลล์
5. เอามาใส่ในน้ำดื่มสะอาด เตรียมคั้นด้วยมือครับ (hand made จริงๆ)
6. คั้นแหลก !!!!!!~ ขยี้ๆๆๆๆๆๆ
7.เติมน้ำใบเตยปั่น เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม
8. กรองๆๆๆๆๆๆๆ จนได้น้ำเขียว ใส ปิ๊งๆๆๆๆๆ พร้อมดื่ม
9. กรอกใส่ภาชนะ
ย่านางทำเป็นอาหาร
แกงหวายใบย่านาง
วัตถุดิบ:1. หวาย (ลำต้นอ่อน)
2. ไก่
3. ผักสะแงะ
4. ใบแมงลัก
5. พริกสด
6. เกลือป่น
7. น้ำใบย่านาง
8. น้ำปลา
9. ข้าวเบือ (ข้าวเหนียวแช่น้ำ โขลกละเอียด)
ขั้นตอนการทำ
1. หวายปอกเปลือกและหนามแหลมออก เลือกแต่ลำต้นอ่อน ตัดเป็นชิ้นๆ แช่น้ำไว้ไม่ให้หวายดำ
2. ต้มหวายและเทน้ำออกเพื่อให้หายขม (สำหรับคนไม่ชอบรสขม) แต่คนไม่นิยมต้มก่อนเพราะชอบรสขมเนื่องจากเชื่อว่าเป็นยา
3. พริกสด ข้าวเบื่อ เกลือ โขลกเข้าด้วยกัน ข้าวเบื่อทำให้น้ำแกงข้น
4. ใบย่านางนำไปขยี้ใส่น้ำ กรองเอาแต่น้ำ ใส่หม้อต้มจนเดือด จากนั้นใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ เนื้อไก่ เมื่อไก่สุกใส่หวาย
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา (ใส่น้ำปลาร้าด้วย) ใส่ผักสะแงะ (ผักพื้นบ้านช่วยแต่งกลิ่น) ตามด้วยใบแมงลัก
แกงขี้เหล็กใบย่านาง
ส่วนผสม
ใบขี้เหล็กที่ต้มแล้ว (ต้มรินน้ำทิ้ง 2 ครั้ง) 500 กรัม
หนังวัวหรือหนังควาย เผาหรือต้มหั่น หรือไข่มดแดง 200 กรัม
น้ำใบย่านาง 3 ถ้วยตวง
ต้นหอมตัดท่อนสั้น 1/4 ถ้วยตวง
ใบอีตู่ (แมงลัก) 1/4 ถ้วยตวง
ตะไคร้ ตัดท่อนยาว 2 นิ้ว 2 - 3 ชิ้น
ส่วนผสมน้ำพริกแกง
พริกแห้งหรือพริกสด 15 เม็ด
หัวหอมแดง 10 หัว
ตะไคร้หั่นฝอย 7 - 8 ต้น
เกลือ 2 ช้อนชา
น้ำปลาร้า 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
โขลกตะไคร้ พริกแห้งหรือพริกสด หัวหอมแดงพอหยาบ ๆ ใส่เกลือ
นำน้ำใบย่านางที่โขลก ใส่หม้อตั้งไฟใส่ใบขี้เหล็ก คนให้เข้ากัน ใส่ตะไคร้ พอเดือดปรุงรสด้วย น้ำปลาร้า น้ำปลา ใส่หนังวัวหั่นหรือไข่มดแดง ต้มต่อไปให้เดือดอีกครั้ง ชิมรส ใส่ผักแต่งกลิ่น ต้นหอม อีตู่ ยกลงรับประทาน
หมายเหตุ
ส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
เครื่องปรุง
- ใบขี้เหล็กอ่อนต้ม 3 ถ้วยแกง
- เอ็นวัวต้มเปื่อย 1/2 ถ้วยแกง
- ข้าวเบือ 2ช้อนแกง
- น้ำปลา 3ช้อนแกง
- น้ำปลาร้า 3 ช้อนแกง
- ชะอม 1/2 ถ้วยแกง
- ใบแมงลัก 1ถ้วยแกง
- หอมสด 3-4 ต้น
- น้ำใบย่านางข้น 3ถ้วย
- ใบมะกรูด 3-4ใบ และ หอมแดงแห้ง กระเทียม หอมดแงแห้งเผา ตระไคร้ ข่า พริกสด กระเทียมเผา
วิธีทำ
- ใบขี้เหล็กอ่อนล้างน้าให้สะอาด นำเอาใบอ่อนและยอดไปต้มให้หายขมประมาณสอง ครั้งแล้วบีบน้ำออก
- โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด หอมแห้งกระเทียมนำมาเผาแล้วปลอกเปลือก
- ข้าวสารแช่น้ำ โขลกร่วมกับใบย่านางละลายน้ำคั้นให้ข้นๆ 3 ถ้วยแกง
- นำใบย่านางต้มใส่เครื่องแกงที่โขลก และที่เผา ใส่ขี้เหล็กน้ำปลาน้ำปลาร้าเอ็นวัวเนื้อวัวต้มเปื่อย ข้าวเบือพอเดือดใส่ชะอม ใบแมงลักหอมสด ปิดฝารอรับประทาน
เคล็ดไม่ลับ
- ใช้หมูไก่ แทนเนื้อวัวได้
- การต้มใบขี้เหล็กควรใช้ไฟแรง เวลาต้มไม่ต้องคนพอเดือดรีบเทน้ำทิ้งแล้ว ต้มใหม่สองครั้ง
- ถ้าแกงขี้เหล็กแบบมันใช้ กระทิแทนย่านาง ใส่เครื่องแกงเผ็ดแทนพริกสด
คุณค่าอาหาร
โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน
ซุปหน่อไม้ใบย่านาง
ส่วนประกอบ
หน่อไม้รวกขูดเป็นเส้นฝอย 300 กรัม
ใบย่านาง 20 ใบ
น้ำคั้นจากใบย่านาง 2 ถ้วย
น้ำปลาร้า 1/2ถ้วย
เกลือ 1/2 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ
ผักชีฝรั่งซอย 2 ต้น
ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ
ใบสะระแน่เด็ดเป็นใบ 1/2ถ้วย
พริกป่น 8 กรัม
งาขาวคั่ว 8 กรัม
ข้าวเหนียว 15 กรัม
กรรมวิธี
1. นำหน่อไม้สดมาเผาไฟให้สุก ลอกกาบที่ไหม้ไฟออกและล้างน้ำสะอาด นำหน่อไม้มาขูดด้วยปลายมีด หรือช้อนซ่อมทำเป็นเส้นยาวๆ
2. นำใบย่านางมาล้างให้สะอาดโขลกและนำมาคั้นกรองเอาน้ำที่ข้นจัด 2 ถ้วย
3. นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำสักครู่ มาโขลกให้ละเอียด
4. นำเครื่องปรุงที่เตรียมไว้จากข้อ 1-3 ใส่ในหม้อและคนให้เข้ากันยกขึ้นตั้งไฟจนเดือดสักครู่ ใส่น้ำปลาร้า เกลือ น้ำปลา ยกลงและทิ้งไว้ให้หายร้อนหรือขณะอุ่นอยู่
5. ปรุงรสด้วยมะนาว พริกป่น คลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จานโรยหน้าด้วยงาคั่ว ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ใบสะระแน่ รับประทานกับผักสด
แกงขี้เหล็กใบย่านาง
ส่วนผสม
ใบขี้เหล็กที่ต้มแล้ว (ต้มรินน้ำทิ้ง 2 ครั้ง) 500 กรัม
หนังวัวหรือหนังควาย เผาหรือต้มหั่น หรือไข่มดแดง 200 กรัม
น้ำใบย่านาง 3 ถ้วยตวง
ต้นหอมตัดท่อนสั้น 1/4 ถ้วยตวง
ใบอีตู่ (แมงลัก) 1/4 ถ้วยตวง
ตะไคร้ ตัดท่อนยาว 2 นิ้ว 2 - 3 ชิ้น
ส่วนผสมน้ำพริกแกง
พริกแห้งหรือพริกสด 15 เม็ด
หัวหอมแดง 10 หัว
ตะไคร้หั่นฝอย 7 - 8 ต้น
เกลือ 2 ช้อนชา
น้ำปลาร้า 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
โขลกตะไคร้ พริกแห้งหรือพริกสด หัวหอมแดงพอหยาบ ๆ ใส่เกลือ
นำน้ำใบย่านางที่โขลก ใส่หม้อตั้งไฟใส่ใบขี้เหล็ก คนให้เข้ากัน ใส่ตะไคร้ พอเดือดปรุงรสด้วย น้ำปลาร้า น้ำปลา ใส่หนังวัวหั่นหรือไข่มดแดง ต้มต่อไปให้เดือดอีกครั้ง ชิมรส ใส่ผักแต่งกลิ่น ต้นหอม อีตู่ ยกลงรับประทาน
หมายเหตุ
ส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhjPp5MDNsjZ896RTVk9lvCyWLm7_nvGSaClK_nQdKipLsqpbfGYe-T19f55VWPDcnmxGsZ5wHZamxtBexrznfS4fqk801Np73hWNIm9qS6DcBimAH-9Mnz9ljVhb1Ei8SzqRwGq-Yc/s320/%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581+45.jpg)
- ใบขี้เหล็กอ่อนต้ม 3 ถ้วยแกง
- เอ็นวัวต้มเปื่อย 1/2 ถ้วยแกง
- ข้าวเบือ 2ช้อนแกง
- น้ำปลา 3ช้อนแกง
- น้ำปลาร้า 3 ช้อนแกง
- ชะอม 1/2 ถ้วยแกง
- ใบแมงลัก 1ถ้วยแกง
- หอมสด 3-4 ต้น
- น้ำใบย่านางข้น 3ถ้วย
- ใบมะกรูด 3-4ใบ และ หอมแดงแห้ง กระเทียม หอมดแงแห้งเผา ตระไคร้ ข่า พริกสด กระเทียมเผา
วิธีทำ
- ใบขี้เหล็กอ่อนล้างน้าให้สะอาด นำเอาใบอ่อนและยอดไปต้มให้หายขมประมาณสอง ครั้งแล้วบีบน้ำออก
- โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด หอมแห้งกระเทียมนำมาเผาแล้วปลอกเปลือก
- ข้าวสารแช่น้ำ โขลกร่วมกับใบย่านางละลายน้ำคั้นให้ข้นๆ 3 ถ้วยแกง
- นำใบย่านางต้มใส่เครื่องแกงที่โขลก และที่เผา ใส่ขี้เหล็กน้ำปลาน้ำปลาร้าเอ็นวัวเนื้อวัวต้มเปื่อย ข้าวเบือพอเดือดใส่ชะอม ใบแมงลักหอมสด ปิดฝารอรับประทาน
เคล็ดไม่ลับ
- ใช้หมูไก่ แทนเนื้อวัวได้
- การต้มใบขี้เหล็กควรใช้ไฟแรง เวลาต้มไม่ต้องคนพอเดือดรีบเทน้ำทิ้งแล้ว ต้มใหม่สองครั้ง
- ถ้าแกงขี้เหล็กแบบมันใช้ กระทิแทนย่านาง ใส่เครื่องแกงเผ็ดแทนพริกสด
คุณค่าอาหาร
โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน
ซุปหน่อไม้ใบย่านาง
ส่วนประกอบ
หน่อไม้รวกขูดเป็นเส้นฝอย 300 กรัม
ใบย่านาง 20 ใบ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhQ8a_o2WAR13NjB2zTEKMq6S2LA4XvVBe6I5Iev7mznRBTATjzzWwyRU6L_PNf_x_wIJAMMPEEwHl2ujFGCq4eBznM7QbSepaQmuPXZ0-ak1LU9RPEZulOFN0oRIbIJB9guhozu7xT/s320/IMGA0368.jpg)
น้ำปลาร้า 1/2ถ้วย
เกลือ 1/2 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ
ผักชีฝรั่งซอย 2 ต้น
ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ
ใบสะระแน่เด็ดเป็นใบ 1/2ถ้วย
พริกป่น 8 กรัม
งาขาวคั่ว 8 กรัม
ข้าวเหนียว 15 กรัม
กรรมวิธี
1. นำหน่อไม้สดมาเผาไฟให้สุก ลอกกาบที่ไหม้ไฟออกและล้างน้ำสะอาด นำหน่อไม้มาขูดด้วยปลายมีด หรือช้อนซ่อมทำเป็นเส้นยาวๆ
2. นำใบย่านางมาล้างให้สะอาดโขลกและนำมาคั้นกรองเอาน้ำที่ข้นจัด 2 ถ้วย
3. นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำสักครู่ มาโขลกให้ละเอียด
4. นำเครื่องปรุงที่เตรียมไว้จากข้อ 1-3 ใส่ในหม้อและคนให้เข้ากันยกขึ้นตั้งไฟจนเดือดสักครู่ ใส่น้ำปลาร้า เกลือ น้ำปลา ยกลงและทิ้งไว้ให้หายร้อนหรือขณะอุ่นอยู่
5. ปรุงรสด้วยมะนาว พริกป่น คลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จานโรยหน้าด้วยงาคั่ว ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ใบสะระแน่ รับประทานกับผักสด
ย่านางกับการรักษาโรค
ย่านางกับการรักษาโรค
ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณ
หมอยาโบราณอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า
" หมื่นปี บ่ เฒ่า แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "
..................................
ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
- เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ
- อาการปวดขาที่แขน
- เล็บมือผุ
- เก๊าต์
วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล
บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี
ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็กทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น
( แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็น
ของย่านาง ) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง
หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม
แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
......................................
นอกจากนี้แล้ว
ยังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำหรือชลอผมหงอก
ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฟ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนอง
ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณ
หมอยาโบราณอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า
" หมื่นปี บ่ เฒ่า แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "
..................................
ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhSXF5M05SkpbkOrYsBoBITRbP_pJbs2s_CJwPkWEI9h2_BwJBKkrq34tkprBnU_-aUcWmLdAbgFln9vYykDyxHzwaSokTz3PDwsHtvKJDerai7-T9_y1dC3Ytdg3HIfHGnmsi_b_k1/s1600/201009-30-134953-1.jpg)
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ
- อาการปวดขาที่แขน
- เล็บมือผุ
- เก๊าต์
วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล
บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี
ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็กทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น
( แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็น
ของย่านาง ) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง
หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม
แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
......................................
นอกจากนี้แล้ว
ยังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำหรือชลอผมหงอก
ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฟ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนอง
คุณประโยชน์เพื่อความสวย
ใบ “ย่านาง” กับสูตรลดอ้วน
โรคอ้วน เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีสถิติผู้เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตามใจ ปาก กินหรือบริโภคแบบไม่บันยะบันยัง เพียงแค่ยึดหลักให้ อร่อยลิ้นเป็นฟาดเรียบจนพุงกาง และปัจจัยอีกอย่างหนึ่งมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีไขมันสูง แป้งหรือน้ำตาลเยอะ ผักผลไม้รับประทานน้อย หรือบางคนไม่กินเลย เผลอแผล็บเดียวน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตัวอ้วนกลมปุ๊ก คิดจะลดน้ำหนักให้เหลือเท่าเดิมก็สายเกินไป ลดได้ยากแล้ว ถึงตอนนี้โรคต่างๆก็จะตามมา หลายโรค ดังนั้นจึงควรระวังในเรื่องการกิน อย่าได้ตามใจปากอย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมุนไพร มีสูตรใช้ลดความอ้วนมากมายหลายสูตรและสูตร ที่ทำง่ายๆและได้ผลดีได้แก่ วิธีเอา “ย่านาง” ทั้งต้น มีขายตามแผงขายพืชผักพื้นบ้าน ตามตลาดสดทั่วไป เป็นกำ กำละ 5-10 บาท ใช้ทั้งกำล้างน้ำให้สะอาดต้มน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มขณะอุ่น 3 เวลาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ 1 แก้ว ต้มกินจนยาจืด ทำกินเรื่อยๆจะช่วยให้น้ำหนักค่อยๆลดลงได้ แต่ไม่ใช่ลดแบบฮวบฮาบ เมื่อน้ำหนักอยู่ ในระดับที่ต้องการแล้ว จะหยุดกินก็ได้ ข้อสำคัญต้องควบคุมอาหารด้วยจะได้ผลดี และเร็ว
โรคอ้วน เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีสถิติผู้เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตามใจ ปาก กินหรือบริโภคแบบไม่บันยะบันยัง เพียงแค่ยึดหลักให้ อร่อยลิ้นเป็นฟาดเรียบจนพุงกาง และปัจจัยอีกอย่างหนึ่งมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีไขมันสูง แป้งหรือน้ำตาลเยอะ ผักผลไม้รับประทานน้อย หรือบางคนไม่กินเลย เผลอแผล็บเดียวน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตัวอ้วนกลมปุ๊ก คิดจะลดน้ำหนักให้เหลือเท่าเดิมก็สายเกินไป ลดได้ยากแล้ว ถึงตอนนี้โรคต่างๆก็จะตามมา หลายโรค ดังนั้นจึงควรระวังในเรื่องการกิน อย่าได้ตามใจปากอย่างเด็ดขาด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEipnV-Wct1RApn8Z4ENmxO4Ysx6egvF83V9nR45RRIdRsJDvGTQeGwv2mSZlVDGWSt-IDhZ8ztakGvaA2f-ZxcwSsTWGyXX4UGMTtdKeaKlkrxP8IFThLKkulEg5O5Y6-OLmVP7ZsXI/s320/image001.jpg)
รสและคุณค่าทางโภชนาการ
รสและคุณค่าทางโภชนาการ
ใบย่านางรสจืด
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลจากหนังสือ Thai Food Composition Institute of Nutrition, Mahidol University (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านาง คือ ไฟเบอร์ แคลเซี่ยม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ
ใบย่านาง 100 กรัม ให้คุณค่าโภชนาการดังนี้
พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่
เส้นใย 7.9 กรัม
แคลเซี่นม 155 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 30625 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
หรือโปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์
ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์
โพแทสเซี่ยม 1.29 เปอร์เซนต์
แคลเซี่ยม 1.42 เปอร์เซนต์
ADF 33.7 เปอร์เซนต์
NDF 46.8 เปอร์เซนต์
DMD 62.0 เปอร์เซนต์
แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์
ประโยชน์ทางอาหาร
ย่านาง มีทุกฤดูกาล ให้ยอดมากในฤดูฝน และให้ผลในฤดูแล้ง
ส่วนที่กินและการปรุงอาหาร
คนไทยนิยมใช้ใบย่านางคั้นเอาน้ำปรุงอาหาร ต่างๆ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ (ย่านางสามารถต้าน พิษกรดยูริกในหน่อไม้ได้) แกงอ่อม แกงเห็ด หรือขยี้ใบสดกับหมาน้อย รับประทานถอนพิษร้อนต่างๆ
ใบย่านางรสจืด
ใบย่านาง 100 กรัม ให้คุณค่าโภชนาการดังนี้
พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่
เส้นใย 7.9 กรัม
แคลเซี่นม 155 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 30625 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj2XAdMfsXf5tU1nIiSFvPKnHyEVyQ2zfgZ1vV54UeJL2vFsKGk1jboAe_JH4cxXEeL0Y0z-EwCsB0n-EqOH58AZz72eGGq6IbqEAZJ-3NM9mpNlVJIKvopC5ZQ6mDXiPwRWvFVrJQr/s320/IMGA0368.jpg)
วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
หรือโปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์
ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์
โพแทสเซี่ยม 1.29 เปอร์เซนต์
แคลเซี่ยม 1.42 เปอร์เซนต์
ADF 33.7 เปอร์เซนต์
NDF 46.8 เปอร์เซนต์
DMD 62.0 เปอร์เซนต์
แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์
ประโยชน์ทางอาหาร
ย่านาง มีทุกฤดูกาล ให้ยอดมากในฤดูฝน และให้ผลในฤดูแล้ง
ส่วนที่กินและการปรุงอาหาร
คนไทยนิยมใช้ใบย่านางคั้นเอาน้ำปรุงอาหาร ต่างๆ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ (ย่านางสามารถต้าน พิษกรดยูริกในหน่อไม้ได้) แกงอ่อม แกงเห็ด หรือขยี้ใบสดกับหมาน้อย รับประทานถอนพิษร้อนต่างๆ
สรรพคุณทางยา
สรรพคุณทางยา
สารเคมีที่สำคัญ
รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)
การทดลองทางห้องปฏิบัติการ
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง
ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
1. แก้ไข้
ใช้รากย่านางแห้ง 1 กำมือ ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ? แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา
2. แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง)
ใช้รากย่านางแดงและรากมะปรางหวาน ฝนกับน้ำอุ่น แต่ไม่ถึงกับข้น ดื่มครั้งละแก้วต่อครั้ง วันละ 3-4 ครั้ง หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน ก็ใช้รากย่านางแดงอย่างเดียวก็ได้ หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้น ใช้รากมะขามฝนรวมด้วย
3. ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านางต้นและใบ 1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำคั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น
4. ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วนดื่มครั้งละ ? แก้ว
การใช้เป็นยาพื้นบ้านในภาคอีสาน
1. ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
2. ใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย
3. ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ
สารเคมีที่สำคัญ
รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiUJi6roXShVaZvseoxJhVUpDinTgRp8E9-PxINd-_VITS5y2ATvqUCfrBJvPqO_vT-D_0PjSh4dbRJZ38UTbfZpgX08UKwRXzcYZXiLqsjKrk1u3jvFa7M5dy14Q4zUz5laeP-pbye/s200/175287.jpg)
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง
ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
1. แก้ไข้
ใช้รากย่านางแห้ง 1 กำมือ ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ? แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา
2. แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj_56-mtaBkfhmDRBxRAKKf6MeowcJCZ0SZKJOyvpIVTxjZwOzzFgw7REWl7N4oWA2SFrw4h7xmUv1f7zcgZeP61MnHJZTUaUqWCJlbuu_IGGwuqfhCWfJC8ukd-43_3MT49AaK_DeA/s320/08-1.jpg)
3. ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านางต้นและใบ 1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำคั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น
4. ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วนดื่มครั้งละ ? แก้ว
การใช้เป็นยาพื้นบ้านในภาคอีสาน
1. ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
2. ใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย
3. ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)