สารเคมีที่สำคัญ
รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiUJi6roXShVaZvseoxJhVUpDinTgRp8E9-PxINd-_VITS5y2ATvqUCfrBJvPqO_vT-D_0PjSh4dbRJZ38UTbfZpgX08UKwRXzcYZXiLqsjKrk1u3jvFa7M5dy14Q4zUz5laeP-pbye/s200/175287.jpg)
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง
ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
1. แก้ไข้
ใช้รากย่านางแห้ง 1 กำมือ ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ? แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา
2. แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj_56-mtaBkfhmDRBxRAKKf6MeowcJCZ0SZKJOyvpIVTxjZwOzzFgw7REWl7N4oWA2SFrw4h7xmUv1f7zcgZeP61MnHJZTUaUqWCJlbuu_IGGwuqfhCWfJC8ukd-43_3MT49AaK_DeA/s320/08-1.jpg)
3. ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านางต้นและใบ 1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำคั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น
4. ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วนดื่มครั้งละ ? แก้ว
การใช้เป็นยาพื้นบ้านในภาคอีสาน
1. ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
2. ใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย
3. ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น